วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สุทัศน์ พวงมาลัย 6/3 เลขที่ 11



คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi0pWcU-ppRVNdSVghfuccj9tfTyC2A4HE2afQvTkzFr7QiVNy_c7KMLEXD_gSAuQGNH8HYngPROU011MzkpSdCXAYyf-S226xdTsgceKG66OxWySKHdDKNbvtfVspFxIWotCci_F5_KkRh/s1600/images.jpg

Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้ง 2 คำ บ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog) โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) ซึ่งรวมกันหมายถึง ปูมเว็บหรือ บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเอง หรือ ถ้าจะขยายความมากไปกว่านั้น Blog ก็จะหมายถึง การบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ มีการจัดเรียง เรื่องหรือ post เรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่ด้านบนสุด ส่วนเรื่องเก่าก็จะอยู่ด้านล่างสุด ซึ่งจะมีวันที่-เวลาเขียนกำกับไว้ เป็นที่นิยมกันในหมู่มาก

มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นแค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลาย และครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างไดอารี่ จนถึงการบันทึกบทความเฉพาะด้านต่างๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องธุรกิจ เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อก เป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้นๆ มีการสื่อสารกับผู้อ่านผ่านทางระบบ comment และมีการถ่ายทอดอย่างเป็นกันเอง โดยบล็อกบางแห่งจะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็เขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะเช่นเพื่อน หรือคนในครอบครัว Blog ให้ อิสระในการเขียนเรื่องอะไรก็ได้ตามแต่ใจผู้เขียน โดยจะสะท้อนบุคลิกของผู้เขียนออกมา ถ้าคนไหนเป็นคนตลก ก็จะเขียนออกมาได้สนุกสนาน น่าอ่าน, ใครชอบเลี้ยงสุนัขจะเล่าเรื่องสุนัขของตัวเอง เป็นต้น Blog มีทั้งบริการแบบเสียค่าใช้จ่าย และไม่เสียค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการให้บริการ ซึ่งมักจะติดตั้ง Tool ให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากนัก

Blogger สามารถแปลได้ 2 ความหมายคือ

1. คนเขียนบล็อก หรือเจ้าของบล็อกนั่นเอง
2. ระบบ update blog หรือ blog engine ที่เรียกว่า Blogger.com นั่นเอง

ซึ่งสามารถประเภทจำแนกได้คร่าวๆ ดังนี้

1. บล็อกเกอร์อิสระ นักเขียนบล็อกประเภทนี้จะเขียนบล็อกของตัวเอง โดยจำกัดบล็อกของตัวเองไว้ว่าเป็นบล็อกส่วนตัว สำหรับเขียนเรื่องราวส่วนตัว หรือความคิดส่วนตัว โดยไม่ได้นำเสนอบล็อกของตัวเองเพื่อการอย่างอื่น นอกจากการชมเพื่อความบันเทิง, ความสนุกในหมู่เพื่อนฝูง

2. บล็อกเกอร์แนวธุรกิจ =รับทำบล๊อกเกอร์
นักเขียนบล็อกกลุ่มนี้ มักจะเขียนเนื้อหาของ blog ที่เป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน คือใช้ blog เป็นเครื่องมือในการทำการตลาดนั่นเอง

3. บล็อกเกอร์แบบองค์กร บล็อกเกอร์กลุ่มนี้ จะใช้ blog เพื่อเป็นการสื่อสารภายใน ไม่ว่าจะเป็นภายในองค์กร เช่นภายในบริษัท หรือใช้สื่อสารภายในทีมฟุตบอล หรือสโมสรต่างๆ
4. บล็อกเกอร์มืออาชีพ บล็อกเกอร์ที่เขียนบล็อกอย่างเดียว โดยมีรายได้จากบล็อกเพื่อยังชีพ บางคนได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน ให้เขียนบล็อกอย่างเดียว บางคนเขียนบล็อกของตัวเอง โดยได้รับค่าโฆษณาต่างๆ จากผู้สนับสนุน กลุ่มนี้อาจเป็นบริษัทที่เขียนบล็อกโดยเฉพาะ ที่เห็นชัดเจนก็คือ blogger ชาวต่างประเทศ เพราะเขียนให้คนอ่านมากๆ แล้วใช้โฆษณาของ Google Adsense มาติดไว้ บางคนมีก็รายได้จากการเป็น presenter ให้สินค้าต่างๆ

Blogger เป็นอีกหนึ่งบริการของ Google ที่จะช่วยให้คุณมีพื้นที่สำหรับเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ที่คุณต้องการในลักษณะของ blogหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นบริการที่ให้คุณสามารถมีเว็บไซต์ส่วนตัวโดยไม่มีค่าใช้จ่ายก็ได้  สำหรับคนที่อยากมีเว็บไซต์ส่วนตัว แต่ไม่อยากมีค่าใช้จ่าย blogger สามารถช่วยคุณได้ หากคุณต้องการใช้  blogger เพียงแค่สมัคร Gmail ก็สามารถสร้าง blog ได้อย่างมากมาย (สมัคร Gmail เพียง Account เดียว สามารถสร้าง blogger ได้หลาย blog)

นอกจากนี้การสร้าง blog ด้วย blogger นั้นเชื่อมโยงพื้นที่เก็บรูปภาพเข้ากับ picasa ซึ่งเป็นบริการด้านภาพถ่าย ทำให้คุณมีพื้นที่เขียน blog และพื้นที่เก็บรูปภาพที่สัมพันธ์กัน สำหรับรูปแบบของชื่อจะมีลักษณะดังนี้ http://android-apps24.blogspot.com/ ซึ่งจะเห็นว่าไม่มี www และด้านหลังชื่อจะมี .blogspot.com ต่อท้าย

blogger นั้นมีเทมเพลท (Template) ให้คุณเลือกใช้งานอยู่พอสมควร ทำให้ลดระยะเวลา และขั้นตอนในการออกแบบไปได้มากทีเดียว แต่ถึงแม้จะเป็นเทมเพลท คุณก็ยังสามารถปรับแต่งเทมเพลตได้ละเอียดเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นความกว้าง สีที่ใช้กับส่วนต่าง ๆ ขนาดตัวอักษร หรือแม้จะเป็นการกำหนดจำนวนคอลัมน์ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน นอกจากนี้หากคุณมีความเข้าใจภาษา HTML คุณจะสามารถปรับแต่ง blogger ได้ละเอียดมากขึ้น หรือมีความสวยงามเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

การเขียนเนื้อหาของ blogger นั้นมีเครื่องมือในการเขียนบทความเหมือนกับชุดเครื่องมือในโปรแกรมประมวลผลคำต่าง ๆ เช่น จัดตำแหน่งข้อความ, แทรกรูปภาพ, ปรับแต่งตัวอักษรเป็นต้น เรียกได้ว่าเมื่อคุณลงมือเขียนบทความ คุณจะรู้สึกเหมือนใช้โปรแกรมประมวลผลคำในการพิมพ์เอกสาร ซึ่งช่วยให้คนที่ไม่มีความรู้ในการเขียน Source Code สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น

          Webblog กับ Website ต่างกันอย่างไร
1.   Website ต้องมี Domain Name และ Hosting เป็นของตนเอง และเสียค่าใช้จ่าย ส่วน Webblog นั้นเราสามารถสมัครใช้บริการได้ฟรี แต่เราต้องใช้ Domain ของผู้ให้บริการ Webblog นั้น ๆ อยู่ในชื่อ domain ของเราด้วย เช่น http://ninetechno.blogspot.com  เป็นต้น
2.   Website คุณสามารถสร้างรูปแบบของเว็บไซต์ได้เองมีความยืดหยุ่น ส่วน Webblog นั้นมี Template ให้เลือก โดยการเขียน blog ก็จะมีโครงสร้างที่ตายตัวไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้มากนัก
3.   Website หากคุณต้องการเขียนเองต้องเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์หลายภาษาอยู่พอสมควร แต่ Webblog คุณเพียงแค่เรียนรู้การใช้งานเล็กน้อยคุณก็สามารถใช้งานได้

          Webblog ทำอะไรได้บ้าง
1.   ทำเป็นเว็บไซต์ส่วนตัว
2.   ไม่ค่อยเกิดปัญหาเรื่องเว็บล่ม
3.   เขียนเรื่องราวต่าง ๆ และแบ่งปันให้กับผู้อื่น
4.   หารายได้กับ google เช่น การเขียนบทความ และนำโฆษณาของ google มาติดลง webblog ของตนเอง
5.   ทำธุรกิจที่เรียกว่า E-commerce ก็พอจะใช้ได้อยู่บ้างครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น